แปลจากCommodity distribution.
United Nations High Commissioner for
Refugees Division of Operational Support,
(accessed via ReliefWeb Humanitarian
Library, (http://www.reliefweb.int/w/lib.nsf/WebPubDocs/C80D8967E2792A74C1256D09002C26C3?OpenDocument)
ระบบการแจกจ่ายควรปลอดภัยและสะดวกต่อการเข้าถึงของผู้ประสบภัย
������������ ความปลอดภัย:� ระบบการแจกจ่ายไม่ควรก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ประสบภัย
โดยเฉพาะกับผู้หญิง
หรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
������������ การเข้าถึง:� จุดแจกจ่ายสิ่งของควรอยู่ใกล้แหล่งที่ผู้ประสบภัยอาศัยอยู่
ควรเป็นสถานที่ที่ผู้ประสบภัยเข้าออกได้สะดวก
ช่วงเวลาในการแจกจ่ายสิ่งของควรเหมาะสมและสะดวกกับผู้ประสบภัยด้วย
*การแจ้งข้อมูลการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย ข้อมูลต่างๆ
ควรจะแจ้งให้ผู้ประสบภัยได้รับทราบโดยตรงว่าจะได้รับความช่วยเหลืออะไรบ้าง
มากน้อยเพียงใด
จะได้รับความช่วยเหลือเมื่อไรและอย่างไร
โดยควรให้ผู้ประสบภัยทั้งหญิงและชายมีโอกาสร่วมตรวจสอบติดตามและควบคุมระบบ
กระบวนการ แจกจ่ายสิ่งของด้วยตนเองทุกระดับ
*ในช่วงเริ่มต้นของภาวะฉุกเฉิน
อาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะลงทะเบียน
หรือการออกบัตรแสดงสิทธิการรับความช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตามสามารถเราสามารถจัดการให้ความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพได้
แม้จะยังไม่มีระบบดังกล่าว
* การจัดเตรียมวัสดุเพื่อที่อยู่อาศัย
เช่น
แผ่นพลาสติก,
เต็นท์
และวัสดุ
อื่นๆ
สำคัญอย่างยิ่งในการจัดสถานที่ให้ผู้ประสบภัย
การจัดที่อยู่อาศัยให้ผู้ประสบภัยสามารถลดปัญหาการกระจายของผู้ประสบภัย
ให้มารวมกันในจุดเดียวกัน
* เป้าหมายหลักในการให้ความช่วยเหลือ
คือครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยตามธรรมชาติ
ซึ่งความช่วยเหลือนี้รวมทั้งอาหารและสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร
อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าจะต้องส่งความช่วยเหลือไปให้แต่ละครอบครัวโดยตรง
ในบางสถานการณ์
ความช่วยเหลืออาจกระจายอย่างประสิทธิภาพกว่าโดยผ่านกลุ่มของครอบครัวหรือชุมชน
* การแจกจ่ายสิ่งของความช่วยเหลือที่ไม่เป็นระบบและไม่สม่ำเสมอ
จะทำลายความเชื่อมั่นของผู้ประสบภัยต่อเจ้าหน้าที่ และจะเป็นการเพิ่มความพยายามในการกระทำที่ผิดขั้นตอนหรือไม่ตรงไปตรงมาของผู้ประสบภัย
* ควรมีจุดแจกจ่ายสิ่งของความช่วยเหลืออย่างน้อย
1 หน่วย ต่อผู้ประสบภัยจำนวน 20,000 คน
* เจ้าหน้าที่ควรจัดให้มีระบบการแจกจ่าย
ที่ผู้ประสบภัยสามารถรับสิ่งของความช่วยเหลือใกล้กับที่พักอาศัยของผู้ประสบภัย
ในระยะเวลาประมาณ
1 เดือนต่อครั้ง
ในกรณีที่แหล่งที่พักอาศัยกระจาย
ผู้ประสบภัยไม่ควรต้องเดินทางเกิน
5 � 10 กิโลเมตร
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
และเกณฑ์คัดเลือกหน่วย
หน่วยควรอยู่ใกล้ผู้ประสบภัยมากที่จุดเท่าที่ทำได้
และไม่ควรเกิน
5 กิโลเมตร
* ควรแจกจ่ายอาหารแห้งที่ยังไม่ได้ปรุง
คราวละจำนวนมากเป็นหลัก
ควรหลีกเลี่ยงการแจกจ่ายอาหารปรุงเสร็จ
ที่ปรุงคราวละจำนวนมากๆ
แก่ผู้ประสบภัย
* ในระบบการแจกจ่าย
ควรมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย
2 คน
ต่อผู้ประสบภัย
1,000 คน
* หลีกเลี่ยงการให้ค่าตอบแทนเป็นสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
เพราะจะทำให้ยากต่อการติดตาม
และในภาวะที่ขาดแคลน
ผู้ประสบภัยอาจได้รับความช่วยเหลือน้อยลง
เนื่องจากต้องให้ค่าตอบแทนเป็นสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่
* ในช่วงเริ่มต้นของการช่วยเหลือ
โดยเฉพาะในยามฉุกเฉิน
อาจเป็นไปไม่ได้ที่จะควบคุมการดำเนินการแจกจ่าย
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม
ตั้งแต่เริ่มการดำเนินงานแต่ละอย่างควรมุ่งทำให้เกิดระบบการควบคุมที่มั่นคงแน่นอนต่อไป
การกระจายความช่วยเหลือ
คือการแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้
ที่จำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัยที่เหมาะสม
อย่างยุติธรรม
ตามการแจกจ่ายที่เฉพาะเจาะจง
ตามเกณฑ์การคัดเลือก
และตามลำดับความสำคัญ
การกระจายความช่วยเหลือเป็นกระบวนการที่ควบคุม
ให้สิ่งของ
และความช่วยเหลือไปถึงผู้ประสบภัยที่เหมาะสม
จุดประสงค์ของข้อแนะนำนี้
ไม่รวมถึงการเก็บรวบรวมรักษาสิ่งของ
หรือกระบวนการขนส่ง
เคลื่อนย้ายสิ่งของ
ยกเว้นจุดแจกจ่ายสุดท้าย
จุดประสงค์ของระบบการกระจายความช่วยเหลือของ
UNHCR คือ
การจัดความช่วยเหลือที่เป็นวัตถุไปให้แก่ครอบครัวผู้ประสบภัย
ภายใต้หลักมนุษยธรรม
ดังนั้นระบบการแจกจ่ายจึงมุ่งไปที่ครอบครัว
ให้เป็นหน่วยพื้นฐานทางสังคม
ในการบรรเทาทุกข์ที่มีประสิทธิภาพที่สุด
ยกเว้นในบางกรณีเฉพาะ
ในเวลาสั้นๆ
ระดับความช่วยเหลืออาจเปลี่ยนจากระดับครอบครัวเป็นระดับบุคคลในครอบครัว
ในกรณีบุคคลไม่มีครอบครัว
เช่น
ผู้ไร้ญาติ
หญิง-ชายโสด
คนแก่ที่ไม่มีผู้เลี้ยงดู
หรือเด็กเล็กๆ
ก็ขอให้ปฏิบัติหรือให้ความช่วยเหลือตามระบบเหมือนกัน
โดยใช้หลักการรวมหลายๆ
บุคคลเข้าเป็นกลุ่มแล้ว
ให้ความช่วยเหลือ
ที่พักอาศัย
อุปโภค
บริโภคพื้นฐาน
ให้แก่กลุ่มต่อไป
รัฐบาล
สามารถช่วยด้าน
- ความปลอดภัย
- การลงทะเบียนของผู้ประสบภัย
ผู้ประสบภัย
สามารถช่วย
- แจกจ่ายสิ่งของ
- ระบุคนที่อยู่ในสภาวะเสี่ยง
- ก่อตั้งคณะกรรมการ
โดยที่ต้องให้แน่ใจว่า
มีตัวแทนที่เป็นผู้หญิงอย่างเพียงพอ
- แบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นให้แก่ผู้ประสบภัยต่างๆ
- กระจายข่าวเกี่ยวกับ
สิ่งของที่ได้รับบริจาค
และระบบการแจกจ่าย
- ควบคุมฝูงชน
ณ
จุดแจกจ่ายของ
องค์กรเอกชน
(NGO) สามารถช่วย
- ระบุจำนวนผู้ประสบภัย
และการจดทะเบียนของผู้ประสบภัย
ร่วมกับรัฐบาล
- กระจาย
/ แจกจ่ายสิ่งของ
หรืออาหาร
- สอดส่องดูแลภาวะโภชนาการของผู้ประสบภัย
- ช่วยให้เกิดความมีส่วนร่วมของผู้ประสบภัย
โดยให้มีผู้แทนมาจากผู้หญิง
และกลุ่มคนชายขอบ
- สอดส่องดูแลระบบการแจกจ่ายของ
และรายงานต่อผู้บริจาค
และรัฐบาล
- กระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆ
ต่อผู้ประสบภัย
- ประเมินความต้องการ
ความช่วยเหลือด้านอาหารของผู้ประสบภัย
ร่วมกับรัฐบาล
- จัดหาอุปกรณ์ใส่อาหาร
- จัดระบบประสานงานในการช่วยเหลือด้านอาหารที่มีประสิทธิภาพ
- สอดส่องดูแล
และรายงานผลการแจกจ่ายอาหารและสิ่งของ
ในการบริจาค
- วางแผนงานร่วมกันในด้านต่างๆ
- ช่วยส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง
อาหารและสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร
หากเป็นไปได้
ควรจะมีระบบการแจกจ่าย
อาหารและสิ่งของ
ที่บูรณาการกันเป็นระบบเดียวกัน
1. สิ่งของสิ้นเปลืองที่ใช้เป็นประจำ
เช่น สบู่, ถ่าน,
เชื้อเพลิง,
สิ่งของเกี่ยวกับสุขอนามัย
สุขาภิบาล, ยาและเวชภํณฑ์,
ถุงยางอนามัย,
อุปกรณ์การศึกษา
2. สิ่งของที่มีอายุการใช้งานได้นาน
เช่น เสื่อ
ที่นอน
ผ้าห่ม ผ้าพลาสติก
เต๊นท์, อุปกรณ์ในการสร้างที่พักเครื่องครัว, ภาชนะใส่อาหาร,
อุปกรณ์การเกษตร
เป็นต้น
� ใครคือผู้รับบริจาค?�
ประกอบไปด้วยใครบ้าง?
� อะไรคือความจำเป็น?
� จะติดต่อ
สื่อสารกับผู้รับบริจาคได้อย่างไร
การจดทะเบียนผู้ประสบภัย
ที่มีการตรวจสอบให้เป็นปัจจุบัน
มีความจำเป็นก่อนที่จะเริ่มแจกจ่ายสิ่งของ
� เพื่อให้ได้จำนวนของผู้รับความช่วยเหลือ
� ข้อมูลของผู้ประสบภัย
เพื่อเป็นการง่ายต่อการหากลุ่มย่อยเฉพาะที่ต้องการ
� ช่วยให้การดูแล
และควบคุมง่ายขึ้น
� ช่วยให้การแจกจ่ายสิ่งของ
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และคุ้มค่า
� ใบลงทะเบียน
สามารถใช้เป็น
ใบขอรับความช่วยเหลือ
จะเป็นการดีหากจุดกระจายความช่วยเหลือตั้งอยู่ใกล้ผู้ประสบภัย
และต้องจัดที่ตั้งของจุดให้กระจายในพื้นที่เพื่อไม่ให้จำนวนคน
ไปรวมอยู่ในจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป
เมื่อจุดให้ความช่วยเหลืออยู่ใกล้
จะทำให้การขนย้ายสิ่งของ
ของผู้ประสบภัยกลับบ้านได้ง่ายขึ้น
(ปกติอาหารสำหรับครอบครัวที่มีสมาชิก
5 คน สำหรับยังชีพหนึ่งเดือน
อาจมีน้ำหนักถึง
75 กิโลกรัม)
และสามารถลดความเสี่ยงต่อการโดนขโมย
และกรรโชกทรัพย์
และลดเวลาการเดินทางจากบ้าน
โดยเฉพาะ
เมื่อครอบครัวที่มีผู้หญิงเป็นหัวหน้าเดินกลับบ้าน
ผู้ประสบภัยไม่ควรเดินทางในระยะที่เกินกว่า
10 กิโลเมตร
ไปที่หน่วยให้ความช่วยเหลือ
ในการเลือกที่ตั้งของหน่วยให้ความช่วยเหลือ
ปัจจัยหนึ่งที่ควรพิจารณา
คือ การที่ผู้หญิงสามารถมารับความช่วยเหลือได้สะดวก
เช่น ถ้าหากผู้หญิงต้องเดินทางระยะไกล
โดยเฉพาะการเดินทางตอนกลางคืน
อาจเป็นการเสี่ยง
การกระจายที่ตั้งของศูนย์
เพื่อลดจำนวนคนต่อศูนย์
เป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดภาวะชุลมุน
จำนวนคนที่น้อยยังมีส่วนช่วยในการแบ่งปันของช่วยเหลืออย่างยุติธรรม
เนื่องจากทุกคนสามารถทราบว่า
คนอื่นๆได้รับสิ่งของใดบ้าง
สำหรับค่ายผู้ประสบภัย
ควรมีหน่วยให้ความช่วยเหลืออย่างน้อย
1 จุด
ต่อผู้ประสบภัย
20,000 คน
รอบของการกระจายความช่วยเหลือควร
:
1. เป็นสิ่งที่ผู้ประสบภัยคาดเดาได้และทราบล่วงหน้า
2. จัดในลักษณะที่มีกระจายความช่วยเหลือ
ไปยังค่าย
หรือชุมชนใกล้เคียง
ในเวลาเดียวกัน
สิ่งของช่วยเหลือควรจัดมอบแก่ตัวแทนของชุมชนของผู้ประสบภัย
จากนั้นให้ตัวแทนของชุมชนกระจายความช่วยเหลือนั้น
ไปยังครอบครัวต่างๆ
ตัวแทนที่มารับความช่วยเหลือนั้นควรมีทั้งหญิงและชาย
สรรหาอาสาสมัครจากผู้ประสบภัยที่ตกลงเป็นตัวแทนและจัดการผู้ที่ประสบภัยด้วยกัน
คนที่อาสาเป็นผู้นำอาจไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของผู้ประสบภัย
จึงควรจัดให้มีการเลือกตั้ง
หรือวิธีอื่นเพื่อให้ได้จำนวนตัวแทนของผู้ประสบภัยที่เหมาะสม�
อย่างไรก็ตามทรัพยากร
รวมถึงเวลา
อาจไม่เอื้ออำนวยให้มีตัวแทนที่เหมาะสมในวันแรกๆ
ของเหตุการณ์
ดังนั้นอาจต้องยอมรับ
ผู้นำอาสานั้นไปก่อนจนกว่าสถานการณ์และเวลาจะเอื้ออำนวย
ควรพยายามทำให้มีผู้หญิงรวมอยู่ในกลุ่มของผู้นำด้วย
หาได้จากการให้ผู้นำประเมินขนาดจำนวนประชากร
และปรับตามความเหมาะสมอีกครั้ง
เพื่อให้ได้จำนวนที่เป็นที่ตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาล
NGOs และผู้ที่มีส่วนสำคัญอื่นๆ
จัดกลุ่มผู้ประสบภัยร่วมกับตัวแทนของผู้ประสบภัย
โดยจัดตามโครงสร้างทางการบริหาร
หรือโครงสร้างทางสังคมเดิม
มอบหมายให้แต่ละกลุ่มไปรับความช่วยเหลือในแต่ละจุดให้ความช่วยเหลือ
หากจำนวนจุดให้ความช่วยเหลือมีน้อย
ทำให้จำนวนผู้ประสบภัยต่อจุดมีมาก
จะเพิ่มความเสี่ยง
ในขณะที่ในด้านความปลอดภัย
แต่ถ้าจำนวนจุดช่วยเหลือมีมากจะทำให้การกระจายความช่วยเหลือได้เร็วขึ้น
ก่อนที่จะแจกจ่ายความช่วยเหลือ
จะต้องมีการคำนวณจำนวนสิ่งของที่แต่ละกลุ่มจะรับไป
และให้ข้อมูลนี้แก่ผู้ทำงานในจุดแจกจ่ายสิ่งของและผู้ประสบภัยด้วย
1.
ทยอยขนย้ายสิ่งของเครื่องใช้ไปยังจุดกระจายสิ่งของ
ในตอนเช้าของวันที่แจกจ่าย
2.
เจ้าหน้าที่เรียกชื่อตัวแทนกลุ่มตามบัญชีรายชื่อที่เตรียมไว้ล่วงหน้า
ให้ออกมารับสิ่งของทีละคน
3. ตัวแทนกลุ่มจะออกมารับสิ่งของพร้อมด้วยพนักงานขนของที่กลุ่มของตนจัดไว้
(จำนวนแล้วแต่ความ
������� เหมาะสม) จากนั้น
ตัวแทนกลุ่มจะลงชื่อในใบสำคัญรับสิ่งของเครื่องใช้
- หน่วยงานกระจายสิ่งของ
จะจัดเรียงเครื่องใช้ไว้เป็นกองๆ
แยกตามชนิดและจัดเตรียมกำลังเจ้าหน้า
��� ที่
ให้มีจำนวนพอเหมาะกับปริมาณสิ่งของ
เพื่อคอยส่งมอบสิ่งของเครื่องใช้ให้แก่พนักงานขนของ
-
จำนวนสิ่งของเครื่องใช้ที่ต้องแจกจ่าย
คำนวณจาก :
���������� (สัดส่วนการแบ่งสันปันส่วน/คน/วัน) X (จำนวนคนในกลุ่ม)
X (จำนวนวัน)
4. ตัวแทนกลุ่มและพนักงานขนของจะขนสิ่งของเครื่องใช้ออกจากพื้นที่กระจายสิ่งของ
ไปยังบริเวณที่ผู้ประสบภัยในกลุ่มของตนกำลังรอรับสิ่งของอยู่
เมื่อถึงที่แล้วตัวแทนกลุ่มจะเรียกชื่อผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือทีละคนตามบัญชีรายชื่อ
(ต้องมั่นใจว่า
การแจกจ่ายทำในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงและติดตามตรวจสอบได้)
- ถ้ากลุ่มมีขนาดใหญ่มาก
ตัวแทนกลุ่มจะแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้ไปให้กลุ่มย่อย
ซึ่งมีขนาดเล็ก
��� กว่า
- ขั้นสุดท้ายเป็นการแจกจ่ายสิ่งของให้แต่ละครัวเรือน
- ในการแจกจ่ายของ
ตัวแทนกลุ่มจะใช้อุปกรณ์และภาชนะที่นำมาเอง
5. หน่วยงานแจกจ่าย
ควรติดตามตรวจสอบผู้ละโมบที่เวียนรับสิ่งของตามกลุ่มต่างๆ
หลายรอบ
���������� ปัญหาความปลอดภัยมักเกิดในช่วงบ่าย
เมื่อคนรู้สึกเหนื่อยล้าต่อการรอคอย
และเกรงว่าสิ่งของเครื่องใช้จะหมดก่อนถึงคิวของตน
ฉะนั้นจึงควรพยายามแจกจ่ายสิ่งของให้รวดเร็ว
โดยไม่ให้เกิดความล้าช้า
เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน
ควรประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ
และเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรให้ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่
สิ่งสำคัญอีกอย่าง
สำหรับการควบคุมฝูงชน
คือ
บรรดาสิ่งของเครื่องใช้ที่จะแจกจ่าย
ควรให้อยู่ห่างจากกลุ่มผู้มารอรับความช่วยเหลืออย่างน้อย
20 เมตร
และจัดวางในพื้นที่อย่างน้อยขนาด
50 X 50 เมตร
โดยมีบริเวณขอบเขตที่ชัดเจน
ถ้าไม่มีเวลาในการสร้างรั้ว
ให้ใช้วัสดุเช่น
เชือก หิน
เป็นต้น
ทำเป็นขอบเขตไว้
และให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคอยดูแลสิ่งของเครื่องใช้เหล่านี้อย่างใกล้ชิด
���������� ในวันแจกจ่ายอาจมีสิ่งของเครื่องใช้ไม่เพียงพอต่อการแจกจ่ายให้ทุกคนตามที่กำหนดไว้แล้ว
ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งในภาวะปกติ
และภาวะฉุกเฉิน
อาจมีการกดดันให้เจ้าหน้าที่แจกจ่ายอะไรก็ได้เท่าที่มีอยู่ในคลัง
ผู้แจกจ่ายสามารถเลือกวิธีปฏิบัติ
อย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังนี้
�
เลื่อนการแจกจ่ายสิ่งของไว้ก่อน
รอจนกว่าสิ่งของจะมีเพียงพอต่อทุกคน
ข้อควรพิจารณา
คือ
-
ถ้าไม่แจกจ่าย
จะมีผลกระทบรุนแรงโดยเฉพาะต่อ
�กลุ่มผู้ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้�
บ้างหรือไม่?
-
มีระบบตรวจสอบที่ดีพอที่จะทราบว่ามีคนเดือดร้อนจริงๆ
หากการแจกจ่ายล่าช้าออกไปหรือไม่?
�
ปรับลดปริมาณสิ่งของเครื่องใช้
แล้วเฉลี่ยแจกจ่าย
ให้ทุกคนได้รับเท่าๆ
กัน
ข้อควรพิจารณา
คือ
-
กลุ่มผู้ไม่สามารถช่วยตนเองได้
จะมีชีวิตอยู่ได้ไหม
ถ้าได้รับสิ่งของน้อยลง
�
ให้สิ่งของเต็มอัตรา
หรือมากกว่า
แก่กลุ่มผู้ไม่สามารถช่วยตนเองได้
และลดปริมาณสิ่งของ
(หรือไม่ให้เลย)
สำหรับ
ผู้ประสบภัยทั่วไป
ข้อควรพิจารณา
คือ
- ได้จำแนกกลุ่มผู้ไม่สามารถช่วยตนเองได้
ไว้แล้วหรือไม่?
-
มีวิธีการให้ความช่วยเหลือเฉพาะแก่กลุ่มผู้ไม่สามารถช่วยตนเองได้หรือยัง?
-
กลุ่มคนปกติจะเกิดอาการอย่างไร
ถ้าได้สิ่งของน้อยกว่าหรือไม่ได้รับอะไรเลย?
ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม
จะต้องประกาศให้ผู้ประสบภัยได้เข้าใจ
เพื่อที่เขาจะได้วางแผนการกินอยู่ในช่วงขาดแคลนสิ่งของ
ทั้งนี้
ปัญหาความรุนแรงจะไม่ค่อยเกิดขึ้น
ถ้าหากเขารับทราบว่า
เกิดอะไรขึ้น
และเหตุผล
การซื้อขายเล็กๆ
น้อยๆ
ระหว่างครัวเรือน
อาจยอมรับได้
ถ้าไม่ส่งผลกระทบที่ชัดเจนต่อสภาวะสุขอนามัยและโภชนาการของชุมชน
กรณีที่มี �ผู้นำ�
ขายสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ
จำนวนมากย่อมแสดงว่า
สิ่งของเครื่องใช้ที่แจกจ่ายไปไม่ถึงมือครอบครัวผู้ประสบภัย
ในหลายๆ กรณี
อาจพบเห็นผู้ประสบภัยนำอาหารที่ได้รับแจกไปแลกเปลี่ยนกับอาหารอื่นๆ
ในท้องถิ่น เพื่อปรับปรุงรสอาหาร
ให้ถูกปากคนมากขึ้น
จุดแจกจ่ายสิ่งของ
สามารถกลายเป็นจุดชุลมุนวุ่นวาย
โดยเฉพาะในช่วงที่สิ่งของที่แจกจ่ายขาดแคลน
หรือมีความตึงเครียดอื่นๆ
ในหมู่ผู้ชุมนุม
เจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบเรื่องความปลอดภัย
ณ
จุดแจกจ่ายสิ่งของ
และที่อื่นๆ
โดยเจ้าหน้าที่แจกจ่ายสิ่งของควรแจ้งปัญหาความปลอดภัยที่อาจจะเกิดขึ้นแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ประเด็นสำคัญในการป้องกันปัญหาฝูงชน
�
จัดกำลังเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมฝูงชน
ให้เพียงพอเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าระบบแจกจ่ายสิ่งของแก่ผู้
ประสบภัย
เป็นไปอย่างเรียบร้อย
พร้อมทั้งจัดอุปกรณ์ให้พร้อม
เช่น
เชือกกั้น
หรือบังทาง
และป้ายต่างๆ
เป็นต้น
�
จำกัดจำนวนผู้ประสบภัย
20,000 คน
ต่อจุดแจกจ่ายสิ่งของ
�
ตั้งหน่วยแจกจ่ายให้ห่างจากชุมชน เช่น
ตลาด
และโรงพยาบาล
เป็นต้น
�
แบ่งขอบเขตจุดแจกจ่ายให้ชัดเจน
และมั่นใจว่าจุดแจกจ่ายที่ผู้ประสบภัยมารับแจกของนี้
แยกจากจุดส่งของ
และเก็บของ
�
จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวก
พื้นฐานให้พร้อม
เช่น
บริเวณที่รอที่มีร่มเงา
น้ำ
และห้องน้ำ
�
ควรมีการประสานงานที่ดีกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
ผู้นำของกลุ่มผู้ประสบภัย
และคณะกรรมการด้านอาหาร
โดยเฉพาะหากเกิดภาวะขาดแคลนของแจกจ่าย
ควรประกาศให้ประชาชนทราบว่า
เขาต้องรอนานเท่าไหร่
�
ไม่ควรประกาศสิ่งที่ไม่ได้คาดหวังแก่ผู้ประสบภัยในจุดแจกจ่าย
เช่น
จะมีการนำระบบการแจกจ่ายแบบใหม่มาใช้
ของที่แจกจ่ายเริ่มหมด
การจะตรวจสอบเอกสารแสดงสิทธิของทุกคน
อย่างไรก็ตาม
การสุ่มตรวจเอกสารแสดงสิทธิของบางคน
สามารถทำได้
�
ควรมอบหมายบุคคลที่รับผิดชอบในการตัดสินใจ
ด้านความปลอดภัยให้ชัดเจนในแต่ละหน่วย
เพื่อสั่งการว่าจะย้าย
หรือส่งสิ่งของ
โดยบุคคลนี้
ควรรู้จักเจ้าหน้าที่แจกจ่ายสิ่งของทุกคน
และควรอยู่ในหน่วยตลอด
�
ควรสร้างระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างเจ้าหน้าที่
โดยจัดให้มีวิทยุสื่อสาร
โทรโข่ง
นกหวีด
เป็นต้น
�
เจ้าหน้าที่ที่แจกจ่ายของควร
มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
เช่น หมวก ปอกแขน
เสื้อ
และสัญลักษณ์
อื่นๆ
ที่มองเห็นได้ชัดเจน
�
ควรแจกจ่ายสิ่งของให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
ลดเวลาการรอคอยให้น้อยที่สุด
�
ควรมีวิธีการจัดการเหตุชุลมุน
หรือการลักขโมย
โกง ให้รวดเร็ว
และยุติธรรมที่สุด
�
แยกบริเวณรอคอยของผู้ประสบภัย
และกองสิ่งของที่จะแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยให้ชัดเจน
พึงตระหนักว่ารั้ว
หรือครื่องกั้นฝูงชนใดๆ
ในจุดแจกจ่ายสิ่งของ
ไม่สามารถสกัดกั้นฝูงชนจำนวนมากที่มาอยู่รวมกันได้
ดังนั้นจึงควรจัดระเบียบฝูงชนให้ได้มากกว่าที่จะพึ่งเครื่องกั้นฝูงชน
หากมีระบบการจัดการที่ดี
เครื่องกั้น
เช่น
ก้อนหินที่วางเรียงไว้
หรือเชือก ก็เพียงพอทำให้ผู้คนทำตามระบบที่จัดเตรียมไว้ได้
ควรพยายามให้คนนั่งขณะรอการแจกจ่ายสิ่งของ
จะช่วยลดการผลัก
หรือกระแทกกันของผู้คน
การให้ค่าตอบแทนเป็นสิ่งของแก่เจ้าหน้าที่ (Payment in kind)
��������� หลีกเลี่ยงการให้ของที่แจกจ่ายแก่เจ้าหน้าที่ที่แจกจ่ายของ
วิธีนี้ถึงแม้จะดูเหมือนง่าย
และประหยัด
แต่อาจทำให้ระบบแจกจ่ายยุ่งยากขึ้น
และเป็นการยากในการตรวจสอบว่าสิ่งของที่เจ้าหน้าที่ที่แจกจ่ายของมีอยู่ได้รับมาอย่างถูกต้องหรือไม่
ที่สำคัญในภาวะขาดแคลนสิ่งของช่วยเหลือ
การแจกจ่ายของแก่เจ้าหน้าที่แทนที่จะเป็นผู้ประสบภัยอาจเป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง
ถุงหรือภาชนะเปล่า
��������� ผู้ประสบภัยควรได้รับอนุญาตให้เก็บถุงหรือ
ภาชนะเปล่า
ในการแจกจ่ายครั้งแรก
ภาชนะเหล่านี้จะช่วยในการรวบรวม
และใส่สิ่งของที่ได้รับแจก
ในการแจกจ่ายที่ให้เป็นจำนวนมากๆ
ไม่ควรเอาของออกจากถุงหรือภาชนะ
ภาชนะเปล่าสามารถใช้เป็นวัสดุสำหรับสร้างที่พักอาศัย
หรือเป็นภาชนะหุงต้ม
และผู้ประสบภัยสามารถนำไปขายเป็นรายได้เพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือครอบครัวได้
อย่างไรก็ตามควรเก็บถุง
และภาชนะเปล่าไว้บ้างบางส่วนในกรณีที่ภาชนะที่ใส่ของเสียหาย
���������