แปลจาก The Sphere Handbook:� Humanitarian Charter and Minimum Standards in
Disaster Response
The Sphere Project,
เสื้อผ้า
ผ้าห่ม และ
เครื่องนอนเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทั่วไปในการปกป้องร่างกายจากสภาพอากาศ
เพื่อการรักษาสุขภาพ
ความเป็นส่วนตัว
และ
ศักดิ์ศรี จะต้องมีการจัดหาสิ่งของพื้นฐานที่ทำให้ครอบครัวสามารถรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล
เตรียมและรับประทานอาหาร
ปกป้องร่างกายจากสภาพอากาศ
อุณหภูมิ
สร้าง
หรือซ่อมแซมที่พัก
�
ผู้ใหญ่และเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีเสื้อผ้าที่พอดีกับขนาดร่างกาย
เหมาะสมกับวัฒนธรรม
ฤดูกาล และ
สภาพอากาศ อย่างน้อยหนึ่งชุด
�
ทารกและเด็กอายุต่ำกว่า
2 ขวบมีผ้าห่มขนาดอย่างน้อย
100 ซม x 70 ซม
(ดูคำแนะนำ
1-4)
�
ประชาชนสามารถมี
ผ้าห่ม
ที่นอน หรือฝูกที่อุ่นสบาย
และสามารถจัดการนอนแยกกันตามต้องการ
(ดูคำแนะนำ 2 � 4 )
�
สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงควรมีเสื้อผ้าและที่นอนเพิ่มเติมตามต้องการ
(ดูคำแนะนำ 5)
�
หากจำเป็นควรจัดหาให้มีเสื้อผ้าสำหรับงานศพที่เหมาะสมกับวัฒนธรรม
1.
การเปลี่ยนเครื่องนุ่งห่ม: แต่ละคนควรจะมีเสื้อผ้าสำหรับผลัดเปลี่ยนที่พอเพียง
เพื่อให้อุ่นสบาย
มีศักดิ์ศรี และปลอดภัย
ควรมีชุดสำรองสำหรับเปลี่ยนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดชั้นใน
เพื่อให้สามารถนำไปซักล้างได้
2.
ความเหมาะสม: เสื้อผ้าควรเหมาะสมกับ
เพศ วัย
สภาพอากาศ
และวัฒนธรรม
เครื่องนอนควรมีปริมาณที่พอเพียงและเหมาะสม
และควรมีการจัดนอนแยกตามครอบครัวถ้ามีความต้องการ
3.
อุณหภูมิ: ควรมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมของเสื้อผ้าและเครื่องนอน
ทั้งในด้านการกันความร้อน
ความเย็น
ความเปียกชื้น
เสื้อผ้า
และเครื่องนอนควรจัดหาให้เพียงพอ
และเกิดความอบอุ่น
4.
ความทนทาน: เสื้อผ้า
และ
เครื่องนอนที่แจกจ่ายควรจะมีความทนทาน
ที่จะใช้ได้ในช่วงระยะเวลาที่เดือดร้อน
5.
ความต้องการพิเศษ: ควรมีการจัดหาเสื้อผ้าให้เพียงพอและเหมาะสมสำหรับคนที่มีความต้องการพิเศษเช่น
ผู้ที่มีปัญหาการควบคุมการขับถ่าย
ผู้ที่ติดเชื้อ
HIV ที่มีอาการท้องเสีย
เด็ก ทารก คนท้องหรือให้นมบุตร
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ
ครอบครัวผู้ประสบภัยแต่ละครอบครัวจะต้องมีสบู่และอุปกรณ์อื่นๆเพียงพอเพื่อให้แน่ใจว่าแต่ละบุคคลมีสุขอนามัยส่วนบุคคล
มีสุขภาพดี มีศักดิ์ศรี
และมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย
�
แต่ละคนมีสบู่ใช้ไม่น้อยกว่า
250 กรัมต่อเดือน
(ดูคำแนะนำข้อ
1-3)
�
แต่ละคนมีผงซักฝอกใช้ไม่น้อยกว่า
200 กรัมต่อเดือน
(ดูคำแนะนำข้อ
1-3)
�
ผู้หญิงและเด็กมีผ้าอนามัยสำหรับการมีประจำเดือน (ดูคำแนะนำข้อ
4)
�
เด็กทารกและเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
2 ขวบ
ต้องมีผ้าอ้อมหรือ
แพมเพิสใช้ 12
ผืน
�
สิ่งของที่จำเป็นเพิ่มเติมเพื่อความสะอาดควรมีอย่างเพียงพอ
1.
ความเหมาะสม: สิ่งของที่จะให้ควรจะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยและสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่น
ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเช่น
ในบางที่
ผงซักฝอกจะเหมาะสมกว่าสบู่ซักผ้า
2.
สิ่งของทดแทนเพิ่มเติม:� ควรจัดหาสิ่งของเพื่อทดแทนหรือเพิ่มเติมสิ่งของที่หมดเปลืองไปตามความจำเป็น
3.
ความต้องการพิเศษ: �ปริมาณสบู่
และน้ำยาซักฝอกควรมีเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
เช่น ผู้ที่มีปัญหาการควบคุมการขับถ่ายบุคคลที่ติดเชื้อ
HIVที่มีอาการท้องเสีย
คนชรา
คนพิการ
4.
การป้องกันด้านสุขอนามัย: ผู้หญิงและเด็กหญิงควรได้รับของใช้ที่เหมาะสมสำหรับการมีประจำเดือน
และควรให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งของเหล่านี้
5.
สิ่งของเพิ่มเติม: บางพื้นที่
บางวัฒนธรรมที่ต้องการสิ่งของสำหรับการทำความสะอาดเป็นพิเศษ
สิ่งของที่ควรมีให้แต่ละบุคคลในแต่ละเดือน
ดังนี้ ยาสีฟัน
75 ซีซี หรือ
100 กรัม, แปรงสีฟัน
1 อัน, แชมพู
250 มิลลิกรัม,
โลชั่น 250 มิลลิกรัมสำหรับเด็กทารกและเด็กต่ำกว่า
2 ขวบ, ที่โกนหนวดแบบใช้แล้วทิ้ง
สิ่งของที่ควรมีให้แต่ละครัวเรือนคือ
แปรงและ/หรือหวี
และ
กรรไกรตัดเล็บ
แต่ละครอบครัวควรได้รับอุปกรณ์ประกอบอาหารและการรับประทานอาหารที่เพียงพอ
�
แต่ละครอบครัวควรมีหม้อและกระทะขนาดใหญ่พร้อมหูจับและฝาปิด
ถาดสำหรับเตรียมและเสริฟอาหาร
มีดและทัพพี (ดูคำแนะนำข้อ
1)
�
แต่ละครอบครัวควรมีขวดบรรจุน้ำพร้อมฝาปิดขนาด 10
ลิตร จำนวน 2
ใบ รวมถึงอุปกรณ์เก็บน้ำและอาหารเพิ่มเต็ม
(ดูคำแนะนำข้อ
1-2)
�
แต่ละคนควรมีจานอาหาร
ช้อนโลหะ
และแก้วน้ำ (ดูคำแนะนำข้อ
1-4)
1.
ความเหมาะสม:
สิ่งของควรเหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นรวมถึงความปลอดภัย
ควรมีการอบรมผู้ประกอบอาหารและเครื่องดื่ม
เมื่อต้องการสิ่งของเฉพาะเจาะจง
อุปกรณ์ประกอบอาหารรวมถึงช้อน
ส้อม และ
แก้วน้ำ
ควรมีขนาดเหมาะสมกับผู้สูงอายุ
ผู้พิการ และ
เด็ก
2.
ผลิตภัณท์พลาสติก: ผลิตภัณท์พลาสติกเช่น
ตะกร้า ชาม
ขวดน้ำ ฯลฯ
ควรทำมาจากพลาสติกชนิดดี
3.
ผลิตภัณท์โลหะ: มีด, กะละมัง,
จาน และ
แก้วควรเป็นสเตนเลส
หรือโลหะกันสนิม
4.
การเลี้ยงเด็ก: เด็กควรดูดนมแม่
ขวดนมเด็กไม่ควรจัดให้นอกจากมีความจำเป็นอื่น
แต่ละครอบครัวของผู้ประสบภัยจะต้องมี
เตาหรืออุปกรณ์ปรุงอาหาร
และเชื้อเพลิงสำหรับปรุงอาหารและให้ความอบอุ่น
แต่ละครอบครัวจะต้องมี
อุปกรณ์ที่ให้แสงสว่างเพื่อความปลอดภัยในเวลากลางคืน
�
ในที่ปรุงอาหารของแต่ละครอบครัวจะต้องมีเตาและเชื้อเพลิงที่จำเป็นสำหรับการปรุงอาหารและให้ความอบอุ่น
(ดูคำแนะนำข้อ
1-2)
�
แหล่งเชื้อเพลิงยั่งยืนที่หาได้ในพื้นที่
ที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
ราคาถูก จะต้องถูกเตรียมไว้
และมีความสำคัญกว่าเชื้อเพลิงจากแหล่งภายนอก
�
เชื้อเพลิงควรอยู่ในภาชนะที่ปลอดภัย
และไม่มีรายงานที่แสดงถึงอันตรายต่อบุคคลที่เก็บเชื้อเพลิงไว้
�
ควรมีที่สำหรับเก็บเชื้อเพลิงที่ปลอดภัย
�
แต่ละครอบครัว
ต้องมีสิ่งสำหรับใช้เป็นแสงสว่างทดแทนไฟฟ้าเช่น
ตะเกียง
และเทียนไข
�
แต่ละครอบครัวต้องมีไม้ขีดไฟ
หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับจุดเชื้อเพลิงและเทียนไข
1.
เตา : ในแต่ละท้องถิ่นควรคำนึงถึงชนิดของเตา
และเชื้อเพลิงที่จะใช้
พลังงานจากเชื้อเพลิงควรจะมีเพียงพอสำหรับใช้ในการปรุงอาหาร
รวมถึงการเตรียมไม้ฟืนสำหรับการปรุงอาหารของแต่ละท้องถิ่น
รวมถึงการเตรียมไม้ฟืน
ในการเปลี่ยนแปลงรายการอาหารที่ปรุงตามชนิดอาหารที่ได้รับบริจาคที่เตรียมไว้
ในสถานที่พักพิงขนาดใหญ่ควรมีที่ปรุงอาหารที่มีอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นให้ใช้เป็นส่วนกลางเพื่อลดอันตรายจากไฟไหม้
และควันไฟ
2.
การระบายอากาศ: ต้องใช้พื้นที่ปิดในการปรุงอาหาร
เตาที่ใช้ควรมีที่เก็บเชื้อเพลิงในภาชนะที่ปลอดภัย
ตำแหน่งของเตาควรอยู่ใกล้ช่องระบายอากาศของที่พัก
เพื่อให้มีการระบายอากาศที่เพียงพอ
และป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้
3.
แหล่งพลังงานที่ยั่งยืน: แหล่งเชื้อเพลิงควรมีการจัดการและตรวจสอบปริมาณที่ใช้
เพื่อเตรียมเชื้อเพลิงสำหรับการใช้ที่เพียงพอและยั่งยืน
4.
การเก็บเชื้อเพลิง: �ผู้หญิงควรได้รับการอบรมเกี่ยวกับที่สำหรับจัดเก็บเชื้อพลิงที่ใช้ปรุงอาหาร
เพื่อความปลอดภัยของแต่ละบุคคล
ความต้องการในการจัดเก็บเชื้อเพลิงเฉพาะกลุ่ม
เช่นครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้หญิง
หรือครอบครัวที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ
HIV/AIDS การเตรียมการเป็นพิเศษ
ควรทำเมื่อทำได้
เช่น
ใช้เชื้อเพลิงที่ใช้แรงงานน้อย
หรือใช้เตาที่ประหยัดเชื้อเพลิง
และแหล่งเชื้อเพลิง
แต่ละครอบครัวที่ประสบภัยที่ต้องการซ่อมแซมและสร้างที่อยู่อาศัย
ต้องได้รับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น
�
สำหรับที่อยู่อาศัยที่ต้องการการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่
ต้องมีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ปลอดภัย
(ดูคำแนะนำข้อ
1-2)
�
ถ้าจำเป็น
ควรมีการอบรม
หรือคู่มือการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือในการซ่อมแซมหรือสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถูกต้อง
�
ควรมีการเตรียมอุปกรณ์สำหรับป้องกันการแพร่กระจายของโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ
เช่น
มุ้งกันยุง
ให้กับสมาชิกทุกคนในครอบครัว
1.
เครื่องมือพื้นฐาน: ในแต่ละพื้นที่ควรมีอุปกรณ์และชุดเครื่องมือพื้นฐานเช่น
ค้อน ขวาน และ
พลั่ว
และควรเลือกชนิดที่สามารถซ่อมแซมได้เองภายในพื้นที่
ควรมีเครื่องมือที่พอเพียงสำหรับ
การขุดคูระบายน้ำ
การสร้างโลงศพ
การขุดหลุมฝังศพ
เป็นต้น
2.
กิจกรรมประจำวันทั่วไป: ถ้าเป็นไปได้ควรมีเครื่องมือสำหรับกิจกรรมประจำวันทั่วไป
3.
ความช่วยเหลือทางเทคนิค: ครอบครัวที่มีผู้หญิงเป็นผู้นำ
และ กลุ่มบุคคลที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้อาจต้องการความช่วยเหลือ
จากเพื่อนบ้าน
หรือ จากแรงงานรับจ้างสำหรับการซ่อมแซมและสร้างสิ่งต่าง
ๆ