ประเมินสภาพจิตใจตนเองอย่างไร
ว่าปลอดภัยจากสึนามิ
ศ.นพ.พิเชฐ
อุดมรัตน์
แม้หลายคนจะมีร่างกายปลอดภัยจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเข้าถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน แต่จิตใจของคนเหล่านั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัยอยู่หรือไม่ ดังข่าวที่ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้รายงานถึงกรณีที่ย่าจะฆ่าหลาน 2 คน ที่ จ.ภูเก็ต เพราะปู่ได้เสียชีวิตลงไปจาก เหตุการณ์คลื่นยักษ์เข้าถล่มในครั้งนี้ รวมทั้งมีรายงานว่าในช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญสึนามินั้น ได้มีผู้ขอรับ การช่วยเหลือทางสุขภาพจิตไปแล้วประมาณ 1,400 คน จนกล่าวได้ว่าสึนามิทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ (tsunami induced psychological distress, TIP) หรือเกิดโรคทางจิตเวช (tsunami induced psychiatric disorders, TIP) ขึ้นได้ ที่ผมขอเรียกชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษรวม ๆ ว่า ทิพ (TIP) ซึ่งโรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นโรคเครียดเฉียบพลัน (acute stress disorder), โรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (posttraumatic stress disorder, PTSD) หรือโรคจิตเวชใด ๆ ที่ผู้ป่วยเคยเป็นอยู่เดิม ซึ่งได้ทุเลาหรือหายไปแล้ว แต่กลับมามีอาการกำเริบขึ้นมาใหม่อีก ภายหลังจากได้ประสบกับเหตุการณ์สึนามิครั้งนี้
บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอเครื่องมือหรือแบบทดสอบเพื่อให้ผู้อ่านได้ลองประเมินตนเอง เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้น(screening test) ว่าสภาพจิตใจของตนเองเป็นอย่างไร สมควรจะไปขอรับความช่วยเหลือทางด้านสุขภาพจิตจากผู้เชี่ยวชาญต่อไปหรือไม่ โดยขอเรียกชื่อแบบทดสอบนี้ว่า ทายส์ (tsunami impact event scale, TIES) ซึ่งผมปรับปรุงมาจากแบบทดสอบ Impact Event Scale ฉบับภาษาไทยที่ รศ.ดร.พญ.สาวิตรี อัษณางค์กรชัยได้แปลไว้และได้นำไปใช้ในการศึกษาวิจัยมาแล้ว ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ขึ้นที่ อ.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 21-25 พฤศจิกายน 2543 เรียกว่าเป็นการใช้ ทายส์ มาทำนาย ทิพ ว่าตัวเราเองมีความเสี่ยงที่จะเกิด ทิพ หรือไม่
(Tsunami
Impact Event Scale, TIES)
เมื่อวันที่
26 ธันวาคม 2547 คุณเป็นคนหนึ่งที่ได้ประสบเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิโดยตรงและคุณโชคดีที่รอดชีวิตมาจากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้
เนื่องจากมีบางคนที่ประสบกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญเช่นนี้แล้ว
อาจมีอาการหรือลักษณะบางอย่างเกิดขึ้น
จึงขอให้คุณได้อ่านลักษณะหรืออาการแต่ละข้อข้างล่างนี้แล้วตอบว่าลักษณะเหล่านี้ได้เกิดขึ้นกับคุณบ่อยเพียงใด
ในช่วงเจ็ดวันที่ผ่านมาจนถึงวันที่คุณตอบแบบประเมินนี้
ถ้าข้อใดไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณเลย ให้ตอบ 0
ถ้าได้เกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง ให้ตอบ 1
ถ้าเกิดขึ้นเพียงบางครั้ง ให้ตอบ 2
และถ้าเกิดขึ้นบ่อย ๆ ให้ตอบ 3
ลักษณะ |
ไม่เกิดเลย |
นาน ๆ ครั้ง |
บางครั้ง |
บ่อย ๆ |
||
1. ฉันมักจะคิดถึงเหตุการณ์สึนามิ ทั้งที่ฉันไม่ได้ตั้งใจ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
2. ฉันพยายามที่จะไม่ให้ตัวฉันต้องรู้สึกเสียใจ เมื่อฉันต้องคิดถึงเหตุการณ์สึนามิ หรือเมื่อมีอะไรมาเตือนให้คิดถึงเหตุการณ์ สึนามิ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
3. ฉันพยายามที่จะกำจัดเหตุการณ์สึนามิออกไปจากความทรงจำ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
4. ฉันมักจะนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทเมื่อภาพหรือความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิเข้ามาในจิตใจของฉัน |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
5. ฉันมีความรู้สึกรุนแรงเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิเป็นระลอก ๆ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
6. ฉันฝันเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
7. ฉันพยายามไปให้ไกลจากสิ่งที่เตือนให้คิดถึงเหตุการณ์สึนามิ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
8. ฉันรู้สึกเหมือนว่าเหตุการณ์สึนามิไม่ได้เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์ สึนามิไม่ได้เป็นความจริง |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
9. ฉันพยายามที่จะไม่พูดถึงเหตุการณ์สึนามิ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
10. ภาพที่เกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ มักจะโผล่ขึ้นมาในใจฉัน |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
11. สิ่งต่าง ๆ มักจะทำให้ฉันต้องคิดถึงเหตุการณ์สึนามิ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
12. ฉันรู้ดีว่าฉันยังมีความรู้สึกมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิ แต่ฉันก็ไม่ได้จัดการอะไรลงไป |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
13. ฉันพยายามที่จะไม่คิดถึงเหตุการณ์สึนามิ |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
14. สิ่งเตือนใจต่าง ๆ มักจะดึงความรู้สึกของฉันเกี่ยวกับ เหตุการณ์สึนามิ กลับมา |
0 |
1 |
2 |
3 |
||
15.
* พิเชฐ
อุดมรัตน์ (2548).
ปรับปรุงจากแบบสอบถาม
Impact Event Scale (IES) เดิม |
0 |
1 |
2 |
3 |
เมื่อครั้งที่
รศ.ดร.พญ.สาวิตรี
อัษณางค์กรชัย
นำแบบประเมิน
IES ฉบับภาษาไทยไปใช้ในการศึกษาผู้ประสบอุทกภัยในหาดใหญ่เมื่อปี
พ.ศ. 2543 นั้น
ไม่ได้หาค่า cut
off ของเครื่องมือนี้ที่จะแบ่งว่า
ต้องได้คะแนนเท่าไหร่ขึ้นไปจึงจะมีความเสี่ยงสูง
แต่ได้ค่าเฉลี่ยของคะแนน
IES ในกลุ่มที่ศึกษาอยู่ที่
13.48.2 จึงอาจกล่าวได้คร่าว
ๆ ว่า
ถ้าคะแนนรวมของคุณอยู่ระหว่าง 0-15 คุณน่าจะมีสุขภาพจิตดีอยู่
ถ้าอยู่ระหว่าง
16-25 คุณน่าจะได้รับผลกระทบทางด้านอารมณ์จิตใจเล็กน้อย
ถ้าอยู่ระหว่าง
26-35 คุณน่าจะได้รับผลกระทบปานกลาง
สมควรที่จะไปพบ
บุคลากรทางสุขภาพจิต
เพื่อประเมินอย่างละเอียดต่อไป
ถ้าอยู่ระหว่าง
36-45 คุณน่าจะได้รับผลกระทบมาก
สมควรรีบไปพบกับบุคลากร
ทางสุขภาพจิตโดยด่วน
เพื่อจะได้ประเมินอย่างละเอียดและ
หรือขอรับความช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป
แต่ไม่ว่าคุณจะได้คะแนนเท่าไหร่
ก็ไม่ควรหวั่นไหวหรือใจเสีย
เพราะแบบประเมินนี้เป็นเพียงการประเมินตนเองเบื้องต้นอย่างคร่าว
ๆ เท่านั้น
หรือถึงแม้คุณจะป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งในกลุ่มโรค
ทิพ
(TIP) ก็ไม่ควรตื่นตระหนกตกใจเช่นกัน
เพราะปัจจุบันความก้าวหน้าของการรักษาทางด้านจิตเวชศาสตร์ได้พัฒนาไปอย่างมาก
เรียกได้ว่า
เมื่อป่วยได้
ก็หายได้เหมือนโรคอื่น
ๆ
ถึงอย่างไร
ผมก็ขอส่งแรงใจร่วมกับพี่น้องคนไทยทั้งประเทศเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณได้ก้าวข้ามความทุกข์ที่เกิดจากเหตุการณ์สึนามิในครั้งนี้
_______________________________________________________________________