จะจัดการความรู้อย่างไร
เพื่อแก้ไขผลกระทบจากสึนามิลูกใหม่ในอนาคต*
ที่ปรึกษาคณบดีด้านการจัดการความรู้
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แม้เหตุการณ์สะเทือนขวัญของคลื่นยักษ์สึนามิจะทำให้เกิดการสูญเสียเป็นอย่างมากของคนไทย
แต่ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงพลังน้ำใจอย่างล้นหลามของคนไทยว่าเราจะไม่ทิ้งกัน
โดยเฉพาะในยามคับขันหรือมีภัย
สึนามิยังได้ให้บทเรียน
(lesson learned) กับเราไว้หลายอย่าง
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะต้องคิดไว้ก็คือ
เราจะหาทางแก้ไขผลกระทบจากสึนามิลูกใหม่ในอนาคตได้อย่างไร
ซึ่งผมขอเสนอให้ใช้ศาสตร์ของการจัดการความรู้(knowledge
management) เป็นแนวทางในการพิจารณาดังนี้
1.
Define
ให้กำหนดว่าเราต้องการความรู้อะไรบ้าง
เพื่อแก้ไขผลกระทบจากสึนามิที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต
โดยการระดมผู้รู้
ผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน
และควรมองภาพรวม
(holistic approach) ทั้งหมด
อย่ามองเพียงบางส่วน
เช่นในขณะนี้ดูเหมือนความสนใจจะอยู่ที่เรื่องระบบเตือนภัยเป็นหลัก
จนอาจลืมถึงเรื่องการเตรียมคน
การสร้างคนให้มีทักษะในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
การสอนถึงเรื่องสึนามิ
รวมถึงเรื่องภัยพิบัติอื่น
ๆ
ให้กับนักเรียน
(ดังกรณีของนักเรียนหญิงที่มาเที่ยวเมืองไทย
เมื่อเห็นน้ำทะเลลดระดับลงอย่างรวดเร็ว
ก็นึกถึงครูภูมิศาสตร์ที่เคยสอนไว้ได้
จึงรีบเตือนคนในครอบครัวให้วิ่งหนีโดยเร็ว)
การพัฒนาให้คนไทยมีความสามารถในการเอาชนะความทุกข์(adversity)
หรือยืนหยัดเอาชนะความทุกข์(resilience)ได้ซึ่งบางคนแปล
resilience ไว้ว่าคือบุคลิกภาพการปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศ
2.
Capture
ให้คว้าความรู้ที่เคยมีคนศึกษาและได้ทำไว้ก่อนแล้ว
ไม่ต้องเสียเวลาตั้งต้นใหม่ที่ศูนย์
ดังกรณีเกาะโอกูชิริของญี่ปุ่น
ที่คุณสุทธิชัย
หยุ่นได้สรุปเอามารายงานไว้ในคอลัมน์กาแฟดำของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ฉบับวันจันทร์ที่
3 มกราคม 2548 ไว้แล้ว
แต่ต้องนำมาพิจารณาให้เหมาะสมกับบริบท
(context) ของประเทศไทย
3.
Create
ให้สร้างความรู้ใหม่ในเรื่องที่เกี่ยวกับผลกระทบจากสึนามิทั้งหมด
ซึ่งยังไม่เคยมีใครได้ศึกษาไว้ก่อน
เช่น
3.1
ไปศึกษาข้อมูลหรือความรู้ฝังลึก(tacit knowledge) จากชาวมอร์แกน
ซึ่งน่าจะได้รู้เรื่องนี้มานานแล้ว
ดังคำเปิดเผยของนักร้องหนุ่มนาธาน
โอมาน
ที่มาเล่าไว้ในรายการเจาะใจ
เมื่อวันพฤหัสบดีที่
30 ธันวาคม 2547
ว่า
เมื่อตอนที่คุณนาธานขึ้นไปบนฝั่ง
ชาวมอร์แกนทุกคนล้วนหันหน้ามองไปที่ทะเลทั้งหมด
คนที่มีลูกเล็กก็อุ้มลูกกระเตงไว้กับเอวเตรียมวิ่งแล้ว
ไม่มีใครอยู่บนบ้านเลย
ช่วงนั้นคุณนาธานกับคุณสราวุธที่ไปด้วยกันไม่ได้เฉลียวใจ
ตอนแรกยังไม่ได้คิดว่าชาวมอร์แกนหันไปดูทะเล
ยังนึกว่าพวกเขาหันมาดูคุณนาธาน
ทั้งคุณนาธานและคุณสราวุธยังขึ้นไปเต๊ะท่าถ่ายรูปบนบ้านของชาวมอร์แกน
จนเมื่อแม่เฒ่ารายหนึ่งพูดเป็นภาษามอร์แกนที่มีคนแปลให้ฟังว่า
คลื่นยักษ์กำลังจะมาแล้ว
ทำไมคนมอร์แกนถึงรู้เรื่องนี้
อาจเป็นไปได้ว่าน่าจะเกิดสึนามิขึ้นแล้วในฝั่งทะเลอันดามัน
เมื่อหลายสิบปีก่อน
แล้วมีการบอกต่อกันมาจากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง
โดยที่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง
(explicit knowledge) ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวมอร์แกนเองก็น่าสนใจ
น่าที่จะได้มีการไปค้นความรู้นี้ออกมาบันทึก
ตรวจสอบ
และติดตามกันต่อไป
3.2
ทำไมช้างป่า
ซึ่งอยู่ห่างจากทะเลแต่ทราบว่าคลื่นยักษ์กำลังจะมา
ควาญช้างเล่าว่า
ช้างไม่ยอมพานักท่องเที่ยวไปตามชายฝั่ง
แต่จะขึ้นเขาอย่างเดียว
และร้องเสียงดัง
จนทำให้ควาญช้างและนักท่องเที่ยวรอดชีวิตทั้งหมด
มีสัญญาณ(signal) อะไรบางอย่างที่ธรรมชาติส่งถึงกันได้
แต่มนุษย์ไม่สามารถรับรู้
ขณะที่เครื่องตรวจจับหรือเตือนภัยสึนามิที่มนุษย์สร้างขึ้นในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกนั้นมีราคาสูงถึงประมาณเครื่องละ
250,000 เหรียญสหรัฐ
หากสามารถค้นหาสัญญาณที่ธรรมชาติส่งถึงกันได้
อาจจะได้เครื่องมือเตือนภัยชนิดใหม่ที่ราคาไม่สูงนักก็เป็นได้
4.
Share
การแบ่งปันความรู้ระหว่างกันจะทำให้ได้แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ(best
practice) ในการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติหมู่ขึ้นอีกในอนาคต
และบทเรียนที่ได้ในครั้งนี้จะทำให้การบริหารจัดการรวมทั้งการช่วยเหลือในครั้งต่อไปเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
ข้อมูลบางอย่างที่เราได้ในครั้งนี้เป็นข้อมูลที่เราอาจไม่ได้นึกถึงมาก่อน
เช่น กรณีที่
พญ.คุณหญิงพรทิพย์
โรจนสุนันท์ให้สัมภาษณ์ในเช้าวันที่
1 มกราคม 2548 ว่าขณะนี้น้ำดื่มมีมากจนกองเป็นภูเขา
แต่สิ่งที่ทีมงานของคุณหญิงซึ่งทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ
และอดหลับอดนอนต้องการมากที่สุดกลับไม่ใช่น้ำดื่ม
แต่เป็นน้ำผลไม้เพราะดื่มแล้วชื่นใจ
กาแฟกระป๋องหรือเครื่องดื่มชูกำลังเพื่อแก้ง่วงเป็นต้น
หรือการที่ประเทศไทยนำช้างจากอยุธยามาช่วยค้นหาศพในพื้นที่ที่รถไม่สามารถเข้าถึง
ก็อาจเป็นแนวทางให้ประเทศอื่นที่มีช้างเหมือนกัน
เช่น
ศรีลังกา
หรืออินเดีย
นำไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาด้วยเช่นกัน
5.
Use
ความรู้ที่ได้มานั้นจะไม่มีประโยชน์
หากไม่ได้นำไปใช้
และเมื่อใช้แล้ว
อาจพบวิธีที่ทำได้ดีกว่าเดิม
จึงเป็นการยกระดับความรู้เพิ่มขึ้นไปอีก
หลังเสร็จสิ้นภารกิจนี้แล้ว
ศูนย์กลางความรู้แห่งชาติ(
* ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
ปีที่ 18 ฉบับที่
5951 วันที่ 7 มกราคม 2548 หน้า
10 .